การดูแลเด็กทารกตามแนวทางของการแพทย์แผนจีน
ซุนซือเหมี่ยว แพทย์แผนจีนสมัยราชวงศ์ถัง ได้เขียนตำรา 《เชียนจินเย่าฟาง》เพื่อสื่อออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า “จะต้องดูแลเอาใจใส่เด็ก เพื่อที่เขาจะได้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่สุขภาพดีและมีคุณภาพ”
การดูแลเด็กทารกตามแนวทางของการแพทย์แผนจีน
ซุนซือเหมี่ยว
แพทย์แผนจีนสมัยราชวงศ์ถัง ได้เขียนตำรา 《เชียนจินเย่าฟาง》กล่าวไว้ว่า : “แนวทางการดำรงชีวิตของผู้คน,
มิมีเลยที่จะไม่เลี้ยงดูแล้วเติบใหญ่, หากไม่ดูแลแต่ยังเล็ก,
จักสิ้นชีวิตก่อนเติบโต”
(“夫民生之道,莫不养小为大,若无于小,卒不成大”)
สามารถสื่อออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจนเลยว่า
“จะต้องดูแลเอาใจใส่เด็ก
เพื่อที่เขาจะได้เติบโตมาเป็นผู้ใหญ่ที่สุขภาพดีและมีคุณภาพ”
แพทย์ยุคโบราณให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการดูแลทารกและเด็กเล็ก
และบางวิธีการก็ยังคงนำมาใช้จนถึงปัจจุบัน ซึ่งการดูแลทารกไปจนถึงเด็กเล็ก
กล่าวโดยสรุปได้ 4 ด้าน ได้แก่ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่อาศัย
และการขยับร่างกาย ดังนี้
01 衣 เครื่องนุ่งห่ม
“สวมใส่ให้เหมาะสมกับฤดูกาล,
ปรับไปตามความหนาวเย็นและความร้อน”
《จูปิ้งหยวนโฮ่วลุ่น》:
“เมื่อเด็กเกิดมา,
ผิวและเนื้อยังไม่เติบโต, ไม่อาจให้สวมใส่จนอุ่น,
เสื้อผ้าที่อบอุ่นจะทำให้เอ็นและกระดูกอ่อนแอ” (小儿始生,肌肤未成,不可暖衣,暖衣则令筋骨缓弱)
ความหมายคือ
เด็กที่สวมเสื้อผ้าหนามากเกินจะไปปิดการระบายของรูขุมขน ทำให้เปี่ยว*(表)พร่องลง ทำให้ได้รับความเสียหายจากลมปราณก่อโรคชนิดลม
(风 เฟิง) ได้ง่าย**
แต่ในทางกลับกัน ถ้าหากสวมเสื้อผ้าน้อยเกินไป จะกลายเป็นว่าไม่เพียงพอต่อการต้านลมปราณก่อโรคชนิดลม
(风 เฟิง)
และความเย็น(寒 หาน)
ทำให้ป่วยได้เช่นกัน
ทุกท่านเห็นหรือไม่ว่า
ไม่ใช่ว่าในหน้าหนาว การห่อหุ้มตัวเด็กจนหนาเตอะในสภาพอากาศที่เย็นจะป้องกันโรคได้
หรือกระทั่งสวมใส่น้อยชิ้นจนเกินไปในหน้าหนาวจะเป็นเรื่องที่ดีต่อภูมิคุ้มกัน*** ดังนั้นจึงแนะนำว่า
ให้ดูแลความอบอุ่นของร่างกายให้มีความรู้สึกเหมือนอุณภูมิของฤดูใบไม้ผลิ
จากคุณลักษณะอินและหยางของอวัยวะภายใน,
ท้องและหลัง, หัวและเท้าแล้ว เหล่าซือ (ผู้เขียนบทความจาก 三才苍生) ได้ยกย่องหลักการ
“สามอุ่นหนึ่งเย็น” คือ
1. หลังต้องอุ่น : หลังเป็นที่ที่มีเส้นลมปราณเท้าไท่หยางกระเพาะปัสสาวะ
(足太阳膀胱经)
ไหลเวียนอยู่
ซึ่งเส้นลมปราณนี้สามารถถูกลมปราณก่อโรคชนิดลมและความเย็นทำร้ายได้ง่าย
จึงต้องรักษาความอบอุ่นเอาไว้
2. ท้องต้องอุ่น : หากท้องได้รับความเย็น
จะส่งผลต่อระบบการย่อย การเผาผลาญและดูดซึมสารอาหาร
ไปจนถึงการเจริญเติบโตของเด็กให้บกพร่องลง
3. เข่าและเท้าต้องอุ่น : Wลมปราณก่อโรคชนิดเย็นมักจะเกิดมาจากเท้าได้ง่าย”
หมายความว่า หากความเย็นเข้ามาที่เท้า มันจะถูกเส้นลมปราณที่เท้านำพาขึ้นมายังทั้งร่างกายด้านบน
จนเกิดโรคจากลมปราณก่อโรคชนิดความเย็นได้
4. ศีรษะต้องเย็น : กลับกันจากข้ออื่น
ๆ ศีรษะเป็นศูนย์รวมของหยางทั้งหมด อีกอย่างคือ สมองเปรียบได้ดั่งทะเลของไขสันหลัง
หากมีความร้อนขึ้นมา จะทำให้ลมปราณก่อโรคชนิดไฟ (火 หั่ว)
ภายในลุกขึ้นรุนแรงจนทำให้เกิดโรคต่าง ๆ ขึ้นมาได้
ในตอนที่เหล่าซือตรวจวินิจฉัยและรักษาเด็ก
จะให้ผู้ปกครองดูความเหมาะสมของเสื้อผ้าเด็ก
โดยใช้ความอุ่นของมือและเท้าเด็กเป็นเกณฑ์จากการสัมผัสที่มือและเท้าของเด็กในอุณภูมิห้อง
ว่าควรใส่เท่าไหร่อุณหภูมิที่มือและเท้าของเด็กจะอบอุ่นพอดี
*表 ภายนอก ในที่นี่มีความหมายคือลมปราณภูมิคุ้มกันที่อยู่บริเวณรอบนอก
เพื่อป้องกันไม่ให้ลมปราณก่อโรคเข้าสู่ร่างกาย)
**เป็นหวัดได้ง่าย
***อ้างอิงจากแนวคิดของเนอสเซอรี่แห่งหนึ่งที่มีชื่อเสียงด้านการฝึกวินัยและความอดทนในประเทศญี่ปุ่น ในทุก ๆ เช้าจะให้เด็ก ๆ วิ่งออกกำลังกายโต้ลมหนาว และถอดเสื้อออกแล้วยืนออกกำลังกายจนขาสั่นตัวสั่นในสนาม ภายใต้อุณหภูมิ 5 องศาเซลเซียส
02 食 อาหาร
คนโบราณมีคำกล่าวว่า
ทารกจะต้องทานนมทันทีภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด(即 [立即] แปลว่า โดยทันที)
《อวี้อิงเจียมี่》: “น้ำนมคือเลือดที่เปลี่ยนแปลงมา,
หอมหวานดังน้ำเชื่อม*” (乳为血化,美如饧)
มองจากมุมมองในปัจจุบัน
นมแม่มีสารอาหารหลากหลายที่มีปริมาณพอดิบพอดี ให้พลังงานสูง
และยังมีสารภูมิต้านทาน (Immunoglobulin) เป็นอาหารที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารก
*美如饧 หอมหวานดังน้ำเชื่อม เนื่องจากภาษาจีน 美 โดยทั่วไปจะแปลว่าสิ่งที่เกี่ยวกับความงาม แต่ในที่นี้อ้างอิงมาจากคำว่า
美味 หมายถึงรสที่อร่อย
如 ราวกับ 饧 คือน้ำตาลกึ่งแข็งกึ่งเหลวชนิดหนึ่ง
เวลาที่ให้นม
จะต้องมีคำนึงถึงปริมาณและอุณหภูมิที่เหมาะสม
ไม่อย่างนั้นจะเป็นการทำร้ายม้ามและกระเพาะอาหาร (ระบบย่อยอาหาร) ของเด็ก
ทำให้เกิดโรคภัยต่าง ๆ ตามมา
《โย่วโย่วจี๋เฉิง》: “ท่านต้องยึดม้ามและกระเพาะเป็นหลัก,
จึงต้องควบคุมตอนให้นม, ควบคุมแล้วจะปรับสมดุลเลี้ยงดูม้ามกระเพาะ, หากให้นมมากหรือน้อยไปจักทำร้ายม้ามและกระเพาะ,
หน้าร้อนงดให้นมร้อน*, หน้าหนาวให้งดนมเย็น*,
ให้บีบน้ำนมออกก่อนเล็กน้อยแล้วค่อยให้นม, อย่าให้นมหลังจากเด็กกินข้าวแล้ว,
และอย่าให้เด็กกินข้าวหลังดื่มนม, ม้ามและกระเพาะเด็กยังไม่แข็งแรง,
ทานนมและข้าวพร้อมกันแล้ว, ย่อยได้ยาก, แรก ๆ จะจี (积 สะสม ทับถม), นาน ๆ ไปจะกาน (疳 โรคซาง)**, ทั้งหลายคือการให้นมอย่างไม่ระมัดระวัง”
《เชียนจินเย่าฟาง》: “หน้าร้อนไม่ขับนมร้อน, เด็กจะอาเจียนออก,
หน้าหนาวไม่จับนมเย็น, เด็กจะไอและท้องเสีย(痢
โรคบิด)” คือการเน้นพิเศษว่าก่อนให้นมแม่ทุกครั้ง
จะต้องบีบเอาน้ำนมแรกของเต้าที่สะสมอยู่*** ออกก่อน และถูหัวนมเบา ๆ
เพื่อให้อุณหภูมิของน้ำนมมีความเหมาะสม
เพื่อป้องกันโรคเกี่ยวกับกระเพาะและลำไส้ของเด็ก
*ดูคำอธิบายจาก 《เชียนจินเย่าฟาง》
** 疳积 กานจี
หรือภาษาแต้จิ๋วเรียกว่า “กำเจ็ก” เป็นโรคผิดปกติเกี่ยวกับระบบย่อยในเด็ก
เด็กจะร่างกายอ่อนแอ ตัวผอมตัวเหลือง ไม่อยากอาหาร ภาษาไทยเราเรียกว่า โรคซาง
โรคตานขโมย
**หมายถึงน้ำนมแรกก่อนที่จะให้นมทุกครั้ง
ไม่ได้หมายถึง “น้ำนมเหลือง” หรือ Colostrums ซึ่งเป็นน้ำนมแม่ในช่วงแรกหลังคลอด ซึ่งมีความสำคัญอย่างมากในการเสริมภูมิคุ้มกันให้เด็ก
ในส่วนของวิธีการให้นมแม่
《เจิ้งจื้อจุ่นเสิง》:
“หากทารกร้องไห้ยังไม่หยุด,
หายใจไม่สม่ำเสมอ, มารดาไม่ควรให้นมบุตร, น้ำนมจะลงล่างไม่ได้, ไปหยุดที่กระบังลม,
ทำให้ทารกอาเจียน”
《เชียนจินเย่าฟาง》:
“มารดาที่ให้นมควรวางแขนไว้บนหมอน,
ให้เต้านมอยู่ระดับเดียวกับศีรษะเด็ก, แล้วให้นม, ทารกจะไม่สำลัก”
การเปลี่ยนจากให้นมแม่มาเป็นให้ทานอาหาร
《เชียนจินเย่าฟาง》: “ให้อาหารอ่อนเด็กเร็วเกินไป,
เด็กไม่ชนะลมปราณสารอาหาร*, จักเป็นโรค, ศีรษะใบหน้าและลำตัวมักเป็นแผล,
หายแล้วจะกลับมากำเริบอีก, เด็กจะอ่อนแอเลี้ยงลำบาก”
《เหยียนซื่อเสี่ยวเอ๋อร์ฟางลุ่น》:
“หลังจากอายุครึ่งขวบ,
นำข้าวเก่าต้มเป็นโจ๊กใส ๆ บาง ๆ ได้, ให้เด็กทานเป็นครั้งคราว, หลังจากสิบเดือน,
ค่อย ๆ เพิ่มความเข้มข้นของข้าวโดยต้มให้เละเพื่อช่วยลมปราณส่วนกลาง**(中气),
จะเลี้ยงได้ง่ายและป่วยน้อยโดยธรรมชาติ”
หมายความว่า ถ้าเราให้เด็กทานอาหารอ่อนเร็วเกินไป
หรือช้าเกินไป จะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กทั้งนั้น แนะนำให้ค่อย ๆ ให้ฝึกทานอาหารอ่อน
เช่น ข้าวต้ม ผักบด เพิ่มด้วยทีละน้อยหลัง 4-6 เดือน*** เพราะเมื่ออายุครึ่งปีขึ้นไป
เด็กจะต้องเริ่มฝึกย่อยและรับสารอาหารเพิ่มเติมจากแหล่งอื่นนอกจากน้ำนมแม่ เมื่อครบหนึ่งขวบจึงสามารถค่อย
ๆ หย่านมได้
*หมายถึง
ย่อยไม่ได้
**ลมปราณส่วนกลาง
(中气)
คือลมปราณของระบบย่อยอาหาร
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของม้ามและกระเพาะในทางแพทย์แผนจีน
คือการย่อยและดูดซึมสารอาหาร มีความหมายว่าจะต้องต้มโจ๊กให้เละ
เพื่อช่วยให้เด็กย่อยได้ง่าย
***บทความต้นฉบับคือ
4 เดือน แต่ทางผู้แปลแนะนำว่า สำหรับเด็กไทย ให้เริ่มทานราว ๆ หลัง 6
เดือนเป็นต้นไปจะเหมาะสมมากกว่า แต่อย่างไรก็ตามก็ขึ้นอยู่กับสภาพของเด็กแต่ละคน
ซึ่งสามารถขอคำแนะนำจากแพทย์ได้ว่าควรให้เริ่มทานตั้งแต่ตอนไหน
ในช่วง 4-6 เดือน
เด็กยังจะต้องทานนมแม่เป็นอาหารหลักอยู่ ซึ่งสามารถเพิ่มอาหารจำพวก ผักผลไม้บด
ปลาบด เนื้อหมูบดละเอียด เต้าหู้ มะเขือเทศบด
ช่วง 7-9 เดือน
ควรทานทั้งนมแม่และอาหารอ่อนควบคู่กันไป สามารถเพิ่มอาหารจำพวก ตับบด ผักสับ
เนื้อหมูสับ เนื้อปลา โจ๊ก
ช่วง 10-12 เดือน
ควรทานอาหารอ่อนเป็นหลัก โดยมีการให้นมแม่ร่วมด้วย สามารถเพิ่มอาหารจำพวก ไข่ ผัก ข้าวต้ม อาหารที่ทำมาจากถั่ว
ในส่วนของโจ๊ก เหล่าซือ (ผู้เขียนจาก 三才苍生) แนะนำว่าไม่ควรให้เด็กทานแต่โจ๊กขาว
(โจ๊กที่มีแต่ข้าวเป็นส่วนประกอบ) เพราะมีฤทธิ์เย็น มีแต่อินไม่มีหยาง
ซึ่งเราสามารถปรับสมดุลให้มีครบทั้ง “หนึ่งอินหนึ่งหยาง” (มีครบทั้งอินหยาง)
ได้ด้วยการใส่ขิงซอยและเนื้อหมูไม่ติดมันลงไป
นอกจากนี้
เรายังสามารถใส่ลูกเดือยเพื่อบำรุงม้ามและธาตุดินของเด็กได้
เพราะในทางแพทย์แผนจีนมองว่า สรรพสิ่งเกิดมาจากดิน ดังนั้น
การบำรุงธาตุดินในร่างกาย จะช่วยบำรุงให้ลูกน้อยเติบโตมาได้อย่างดีและสมบูรณ์
ซึ่งการต้ม
ให้เคี่ยวในหม้อประมาณหนึ่งชั่วโมงจนเละละเอียด เพราะจะทำให้ดูดซึมสารอาหารได้ง่าย
หลังจากวัยหย่านม
《อวี้อิงเจียมี่》: “เพื่อให้กินได้ดี,
ต้องควบคุมให้เด็ก, จะตามใจเขาไม่ได้, เด็กมีความสุข, แต่โรคภัยจะรุมเร้า”
เด็กที่ทานอาหารตามใจตนเองโดยไม่ถูกควบคุม
จะเป็นการทำร้ายม้ามและกระเพาะ (หมายถึงทำให้การทำงานของระบบย่อยอาหารไม่ดี
และยังส่งผลไปจนถึงการดูดซึมสารอาหารและการเจริญเติบโตอีกด้วย) ดังสุภาษิตที่ว่า
“ใคร่จะให้บุตรแข็งแรง, ต้องให้หิวและหนาวอยู่สามส่วน”* อาหารจะต้องอ่อนและจืด
ย่อยง่าย งดอาหารที่มีรสจัดจ้าน เปรี้ยว เค็ม หวาน เผ็ด ไปจนถึงอาหารที่มีกลิ่นแรง
กลิ่นคาว และอาหารดิบ
《หัวโย่วจิงเย่า》: “กินหวานแล้วกาน**(疳), กินอิ่มจุกทำร้ายลมปราณ, กินเย็นจะจี**(积), กินเปรี้ยวทำร้ายอารมณ์,
กินขมทำร้ายเสิน(神
เสิน จิตใจ สติสัมปชัญญะ),
กินเค็มลมปราณจะอุดตัน, กินอาหารมันจะมีเสมหะ, กินเผ็ดทำร้ายปอด”
การให้เด็กทานอาหารที่ไม่เหมาะสม
จะทำให้เสียสุขภาพจนเกิดเป็นโรคขึ้นมา ในทางแพทย์จีนจะเรียกว่า “โรคเข้ามาทางปาก”
* “หิวสามส่วน” หมายถึง
ไม่ควรปล่อยปละละเลยการกินของเด็กจนกินตะกละหรือมากจนเกินไป “หนาวสามส่วน” หมายถึง
ควรแต่งกายอย่างพอดีให้ร่างกายเด็กระบายความร้อนออกมาได้
ไม่มิดชิดอึดอัดมากจนเกินไปดังที่กล่าวถึงก่อนหน้านี้
** กานจี (疳积) โรคซางหรือตาลขโมย [สามารถย้อนอ่านละเอียดได้ที่ย่อหน้าที่สอง]
03 ที่อยู่อาศัย
“แสงแดงเพียงพอ,
อากาศปลอดโปร่ง”
ห้องของลูกน้อยควรจะมีแสงแดดส่องถึง
อากาศภายในปลอดโปร่งมีการระบายที่ดี และควรให้เด็กเคยชินกับการนอนเปิดหน้าต่าง* แต่ควรหลีกเลี่ยงลมที่เป่ามาที่เด็กโดยตรง
เพื่อไม่ให้เด็กได้รับลมปราณก่อโรคที่ตามลมเข้ามา**
*การเปิดหน้าต่างนอนมีความสำคัญคือ
เมื่อเด็กหายใจ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะออกมาสะสมอยู่ในห้อง
การเปิดหน้าต่างจะเป็นการถ่ายเทอากาศให้ก๊าซ์คาร์บอนไดออกไซด์ที่สะสมอยู่ออกไป
และนำออกซิเจนเข้ามาแทนที่ รวมถึงแบคทีเรีย ฝุ่น และสารพิษอื่น ๆ
ที่จะสะสมอยู่ด้วยเช่นกัน
**ในทางแพทย์แผนจีนมีคำกล่าวที่ว่า
“ลมปราณก่อโรคชนิดลม เป็นบ่อเกิดของร้อยโรค” (风为百病之长)
คือลมมักจะนำพาเอาสิ่งที่ทำให้เกิดโรคพัดมาด้วย
และตัวของมันเองก็ก่อโรคขึ้นมาได้เช่นกัน
04 การออกกำลังกาย
“ให้เด็กยืดเส้นยืดสาย,
ทำให้สุขภาพแข็งแรง” (体质 คือ ลักษณะเฉพาะทางสุขภาพของร่างกาย)
การแพทย์แผนจีนตั้งแต่สมัยโบราณ
สนับสนุนให้มีการออกกำลังกายของเด็กตั้งแต่ยังเล็ก ๆ ให้มีการอาบแดดอ่อน ๆ
ท่ามกลางธรรมชาติ สูดอากาศบริสุทธิ์ภายนอก
เพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันต่อสภาวะแวดล้อมภายนอกของลูกน้อย
《จูปิ้งเอวี๋ยนโหวลุ่น》: “เจอลมและแดดให้ถูกยาม,
หากไม่เจอทั้งลมและแดด, จักทำให้ผิวและเนื้ออ่อนแอ, แล้วบาดเจ็บได้ง่าย,
ทุกวันยามแดดอ่อนอบอุ่นไม่มีลม, ให้มารดาอุ้มและเล่นกับเด็กท่ามกลางแสงแดด,
เมื่อพบลมและแดดบ่อยวันเข้า, เลือดรวมตัวและลมปราณแกร่ง, กล้ามเนื้อยิ่งแข็งแรง,
ทนทานลมและความหนาว, ไม่เป็นโรค”
ช่วงเวลาในการพาเด็กไปออกกำลังกายคือช่วงยามเฉิน
(辰时 คือเวลา 07:00-09:00 โดยมาตรฐาน ซึ่งอาจแตกต่างกันไปบ้างเล็กน้อยตามแต่ละท้องที่)
เนื่องจากในยามนี้ แสงแดดเป็นเส้าหยาง (少阳) เป็นเส้าหั่ว
(少火 ไฟเล็ก) คือช่วงที่คุณภาพของแสงอาทิตย์มีความอุ่นบำรุง (温补) มากที่สุด
《หวงตี้เน่ยจิง》: “จ้วงหั่ว*(壮火)กินลมปราณ,
ลมปราณกินเส้าหั่ว*(少火), จ้วงหั่วกระจายลมปราณ, เส้าหั่วกำเนิดลมปราณ” (壮火食气,气食少火,壮火散气,少火生气)
มีความหมายว่า
ลมปราณหยางที่มีมากจนเกินไปจะทำให้ลมปราณหยวน**(元气)ของเราลดลงและอ่อนแอ
รวมถึงกระจายลมปราณที่สะสมอยู่ออก
ส่วนลมปราณหยางที่เป็นปรกติจะทำให้ลมปราณหยวนของเรามีความแข็งแกร่งขึ้น และก่อกำเนิดลมปราณหยวนขึ้นมาได้
*จ้วงหั่ว (壮火) คือไฟทางพยาธิวิทยาที่มีความสามารถในการกระตุ้น
สามารถทำลายลมปราณได้
เส้าหั่ว (少火) คือไฟทางสรีรวิทยาที่มีความเป็นปกติ
มีหน้าที่ในการหล่อเลี้ยงและกำเนิดลมปราณหยวนและการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิต
**元气 ลมปราณทุนกำเนิด คือลมปราณที่ได้รับมาจากบิดาและมารดาฝั่งละครึ่ง ได้รับการเลี้ยงดูในร่างกายจากลมปราณหลังกำเนิด (สารอาหารที่เราทานเข้าไป) และเก็บสะสมอยู่ที่ไต