วันเหมายันต์
วันเหมายันต์ (冬至节) โดยปกติจะตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม ของทุกปี สำหรับปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2565 วันนี้จะเป็นวันที่ช่วงกลางวันสั้นที่สุดแล้วกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ถือเป็นวันที่มีอากาศหนาวเย็นในซีกโลกเหนือ แล้วจะตรงข้ามกับประเทศทางซีกโลกใต้
冬至 วันเหมายันต์
พฤ 22 ธันวาคม 2565
วันเหมายันต์ (冬至节) โดยปกติจะตรงกับวันที่ 21 หรือ 22 ธันวาคม ของทุกปี สำหรับปีนี้ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 22 ธันวาคม 2565
วันนี้จะเป็นวันที่ช่วงกลางวันสั้นที่สุดแล้วกลางคืนยาวที่สุดในรอบปี ถือเป็นวันที่มีอากาศหนาวเย็นในซีกโลกเหนือ แล้วจะตรงข้ามกับประเทศทางซีกโลกใต้
เหตุเพราะ ดวงอาทิตย์จะขึ้นทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มากสุด และ ตกไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้มากสุดเช่นกัน
สำหรับคนจีนนั้น ประเทศจีนถือเป็นประเทศทางซีกโลกเหนือ แล้วคนจีนสังเกตุปรากฏการณ์นี้มาตั้งแต่อดีตกาล ดังนั้นจึงได้ถือเอาวันนี้เป็นวันสำคัญวันหนึ่ง
เรียกว่าเทศกาล 冬至节(ตงจื้อเจี๋ย)
การดูแลตัวเองในช่วงเทศกาลเหมายันต์
ตามหลักแพทย์แผนจีน สามารถจำแนกได้เป็น 4 ประเภท คือ
1.บำรุงลมปราณ (补气) 2. บำรุงเลือด (补血)
- บำรุงอิน (补阴) 4. บำรุงหยาง ( 补阳)
1. บำรุงลมปราน ผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอ เหนื่อยง่ายสมุนไพรที่ช่วยบำรุงลมปราณได้ดี ก็เช่น ฮ่วยซั่ว (山药)จีเน่ยจิน (鸡肉筋)เต้าฮวย (豆腐脑) เป็นต้น
2. บำรุงเลือด สำหรับผู้มีอาการเลือดพร่อง ปวดหัวช่วงหน้าหนาวง่าย สมุนไพรที่ช่วยบำรุงเลือดได้ดี เช่น ลำไยอบแห้ง(龙眼肉)ดอกคำฝอย (红花) ตังกุย (当归)เป็นต้น
3. บำรุงอิน สำหรับผู้ที่มีอาการผิวแห้งแตก ขาดความชุ่มชื้น สมุนไพรที่ช่วยบำรุงอิน เช่น ดอกสายน้ำผึ้ง (金银花)ม่ายตง (麦冬)เหี่ยงเซียม (玄参) เป็นต้น
4. บำรุงหยาง สำหรับผู้มีอาการขี้หนาว มือเท้าไม่อุ่น เอวเข่าไม่มีแรง ปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน
สมุนไพรที่ช่วยบำรุงหยางได้ดี เช่น เมล็ดท้อยิ้ง( 桃仁) เก๋ากี้ (枸杞子) เป็นต้น
อาหารบำรุงสุขภาพ ช่วงวันเหมายันต์ ได้แก่
1. เกี๊ยวนึ่ง (饺子): ให้ความอบอุ่นร่างกาย เพิ่มพลัง หยาง เป็นที่นิยมของจีนทางตอนเหนือ เช่น ปักกิ่ง เสิ่นหยาง เป็นต้น
2. รับประทานเนื้อย่าง ( 羊肉) :การรับประทานเนื้อ เป็นการเพิ่มพลังหยางในระดับตับ ในบางคนที่เป็นคนมีอาการร้อนง่าย การรับประทานทำให้เหงื่อออกได้เลย การรับประทานเนื้อ เป็นที่นิยมในชาวจีนตอนกลางเช่น เฉิงตู เสฉวน เป็นต้น
3. ขนมทังหยวน หรือขนมน้ำตาลปั้น ( 汤圆)มีลักษณะคล้ายบัวลอยไทย ขนมทังหยวนเป็นขนมที่มีรสหวาน ซึ่งรสหวานมีส่วนช่วยสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกาย เป็นที่นิยมในชาวจีนตอนใต้ เช่นเมืองเซี่ยงไฮ้ กวางเจา เป็นต้น
การฝังเข็มในช่วงเทศกาลตงจื้อ
ตามหลักแพทย์แผนจีนแล้ว ฤดูกาลนี้จะเป็นฤดูหนาว ( มีพลังอินมากสุด) ในหยาง พลังหยางเปรียบเสมือนชีวิต เพราะหยางมีการเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
การฝังเข็มช่วงนี้ จะเป็นการเพิ่มพลังหยาง ทำให้ร่างกายมีสุขภาพแข็งแรงยืนยาว ยิ่งได้รับการบำรุงอย่างสม่ำเสมอ ร่างกายก็แข็งแรงปราศจากโรคภัย
โดยแพทย์แผนจีนจะนิยม ฝังเข็มบริเวณ
1. จู๋ซานหลี่ : เป็นจุดศูนย์รวมพลังหยางที่ฝ่าเท้า
2. กวานหยวน : เป็นจุดรวมบริเวณลมปราณ และ หยาง บริเวณหน้าท้อง
3. ไป่ฮุ่ย : เป็นจุดเชื่อมต่อบริเวณ หยาง และ อิน และยังเป็นจุดเพิ่มเสิน(พลังงานชีวิต) ให้กับร่างกาย
4. รมยาบริเวณสะดือ (神阙)เป็นจุดเก็บหยางที่ดีที่สุดในร่างกาย ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น