การรมยา
คือการรักษาโรคด้วยการเผาสมุนไพรโกศจุฬาลัมพาแล้วนำมารมบริเวณจุดฝังเข็มตามตำแหน่งของเส้นลมปราณ การรมยาสามารถปรับสมดุลพลังชี่และเลือด อบอุ่นขับเคลื่อนเส้นลมปราณ ขจัดพิษภายในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนและพลังเส้นลมปราณ รวมไปถึงช่วยในเรื่องความงาม และการดูแลสุขภาพอีกด้วย
การรมยา (Moxibustion)
คือการรักษาโรคด้วยการเผาสมุนไพรโกศจุฬาลัมพาแล้วนำมารมบริเวณจุดฝังเข็มตามตำแหน่งของเส้นลมปราณ การรมยาสามารถปรับสมดุลพลังชี่และเลือด อบอุ่นขับเคลื่อนเส้นลมปราณ ขจัดพิษภายในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนและพลังเส้นลมปราณ รวมไปถึงช่วยในเรื่องความงาม และการดูแลสุขภาพอีกด้วย
โกศจุฬาลัมพา เป็นไม้ล้มลุก สูงได้ถึง 1.5 เมตร รากมีกลิ่นหอม ใบเดี่ยว ใช้ใบตากแห้งมาบดอัดแท่ง การรักษาใช้ไฟจุดที่ปลายแท่งโกฐฯ และนำปลายแท่งโกฐฯ ไปรมบริเวณจุดฝังเข็มและจุดที่ต้องการ
สรรพคุณของการรมยา
1.. ช่วยอบอุ่นเส้นลมปราณและขจัดความชื้นความผิดปกติของการไหลเวียนของเลือดและลมปราณมักเกิดจากความเย็นความร้อนที่มากเกินไป ความเย็นทำให้การไหลเวียนช้าลงและเกิดการติดขัดขึ้น ในขณะที่ความร้อนจะทำให้การไหลเวียนพุ่งเร็ว
การรมยาช่วยอบอุ่นเส้นลมปราณ กระตุ้นการไหลเวียนเลือด ใช้ในการรักษาโรคที่เกิดจากความเย็น ความชื้น ตัวอย่างเช่น ปวดท้องประจำเดือน ปวดตึงกล้ามเนื้อ ตะคริว เป็นต้น
2. เพื่อให้เลือดและลมปราณไหลเวียนอย่างราบรื่นการรมยา ช่วยทำให้เลือดและลมปราณไหลขึ้นบนและลงล่าง ตัวอย่างเช่น หมอจีนรมยาที่จุดหย่งเฉวียน เพื่อรักษาโรคแกร่งในส่วนบนและพร่องที่ส่วนล่างของร่างกาย มดลูกหย่อน ถ่ายเหลวเรื้อรัง ริดสีดวงทวาร ท้องผูก แต่ในขณะเดียวกัน
การรมยาที่จุดไป่หุ้ย จะช่วยชักนำหยางชี่ขึ้นสู่เบื้องบน จะช่วยรักษาโรคจำพวก หลงลืม ฝันบ่อย หรือปวดหัวประเภทลมเย็นมากระทบ (ปวดหัวตึงๆ หนักๆ มีจุดปวดแน่นอน)
3. รมยาช่วยป้องกันโรคและเสริมสร้างสุขภาพถ้าต้องการมีสุขภาพดี ควรรมยาที่จู๋ซานหลี่ เป็นหลักแล้วทำเป็นประจำสม่ำเสมอ จู๋ซานหลี่เป็นจุดหนึ่งบนเส้นลมปราณหยางหมิง ซึ่งมีพลังงานหยางมากที่สุด แล้วเป็นศูนย์กลาง (จงเจียว)ของร่างกาย การรมยาบริเวณนี้จะช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ดี
4. อบอุ่นเส้นลมปราณกระจายความเย็นรักษาโรคความเย็นอุดกั้นทำให้เกิดอาการติดขัดเช่น อาการปวดต่างๆ โรคปวดประจำเดือน ประจำเดือนไม่มาหรือมาน้อย ปวดท้องแบบหน่วงจุก (เว่ยหาน)
5. พยุงพลังหยางป้องกันอาการอวัยวะภายในหย่อน รักษากับผู้ป่วยที่มีร่างกายอ่อนแอ อสุจิน้อย หลั่งเร็ว เป็นต้น
การรมยากับความงาม
ในทางทฤษฎีศาสตร์การแพทย์แผนจีน เชื่อว่า การรมยาสามารถปรับสมดุลอินหยาง ปรับสมดุลพลังชี่และเลือด จากบทความข้างต้นการรมยามีส่วนช่วยในการพยุงหยาง หากในร่างกายมีพลังหยางมีสมดุล ไม่มากไป ไม่น้อยไป ประกอบกับอิน เมื่อทั้ง2 อย่างสมดุล อวัยวะก็จะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ก็จะส่งผลถึงเรื่องผิวพรรณและความงามได้
กระบวนการรมยาโดยทั่วไปจะขึ้นกับโรคอาการ อายุของผู้ป่วย และตำแหน่งจุดที่จะใช้ โดยทั่วไปจะใช้เวลาประมาณ 10-20 นาที ทำวันละ 1 ครั้ง ทุกวัน หรือ วันเว้นวัน ได้ ความรู้สึกจากการรมยา- ให้มีความรู้สึกอุ่นร้อน ให้ผิวหนังบริเวณที่รมยามีสีแดงเรื่อก็พอ รู้สึกผ่อนคลายกับกลิ่นยา