image

ทำไม "ผู้หญิง" ต้องนอนดี ?

มนุษย์สุขภาพดี ในเพศหญิง จะต้องมีคุณภาพในการนอนหลับที่ดี ซึ่งเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบำรุงตับ ดังนั้น “จุดเริ่มต้น” ของแนวคิด "ผู้หญิงจะต้องนอนดี" คือ “การบำรุงตับ” เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพร่างกายของเพษหญิง

“บุรุษจะต้องกินดี ส่วนสตรีจะต้องนอนดี”


สุภาษิตนี้ มีความหมายว่า มาตรวัดว่ามนุษย์สุขภาพดี ในเพศชายคือจะต้องรับประทานอาหารได้ดี (มีความอยากอาหาร ระบบการย่อยอาหาร ระบบเผาผลาญเป็นปกติ) ส่วนในเพศหญิง จะต้องมีคุณภาพในการนอนหลับที่ดี

            แนวคิดนี้ เหล่าซือ (ผู้เขียนบทความจาก 三才 ) เองก็เห็นด้วยเช่นกัน และเป็นประโยคที่ตัวเหล่าซือเองก็พูดให้คนไข้หลาย ๆ คนเช่นกัน

            ในครั้งนี้ พวกเรามาอธิบายกันก่อนว่า “ผู้หญิงต้องนอนดี” ในมุมมองของแพทย์แผนจีนเป็นอย่างไร

                แพทย์แผนจีนมีความเข้าใจต่อการนอนหลับดังนี้ :

                1.  ซู่เวิ่น • โข่วเวิ่น :  อินก็คือยามค่ำคืน, และในยามค่ำคืนก็คือจะต้องนอน

            2. ซู่เวิ่น • อู่จั้งเซิงเฉิง :  “มนุษย์นอนแล้วเลือดจะกลับสู่ตับ”

            จากทั้งสองข้อนี้ สามารถอธิบายคำว่า “ผู้หญิงต้องนอนดี” ได้ว่า


01. “อินก็คือยามค่ำคืน, และในยามค่ำคืนก็คือจะต้องนอน

              ก่อนอื่น เพศชายนั้นถูกแบ่งได้ว่าเป็นหยาง

ส่วนเพศหญิงนั้นเป็นอิน มีการแสดงออกมาเป็น “คุนกั้ว*” (坤卦 คุนกั้ว / คุนกว้า)ในปากั้ว

เส้นสามเส้นในรูปหกเหลี่ยมคุนล้วนเป็นเส้นอินทั้งหมด** ตามทฤษฎี "ลมปราณที่เหมือนกันจักเกื้อกูลซึ่งกันและกัน", จากทฤษฎีที่ว่า โครงสร้างจะกำหนดหน้าที่ พวกเราจึงสามารถรู้ได้ทันทีว่า เพศหญิงจำเป็นต้องนอนหลับ เพื่อรักษาสุขภาพของตนเอง***

นอกจากนี้ ยังมีทษฎดีที่ว่า “เมื่ออินมีการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสูงสุด จะมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นหยาง” (阴极生阳 หรือ 阴盛极阳) ดังนั้น “การนอนหลับไ จึงเป็นกระบวนการในการเพิ่มขึ้นของพลังงานหยางในร่างกาย

“เพศหญิงมีร่างกายเป็นอินแต่กลับใช้หยาง” (女子体为阴而用为阳) ซึ่งสอดคล้องกับหลักการหยินและหยางของพวกเรา

 

*坤卦 คุนกั้ว คุนกว้า ภาษาแต้จิ๋วคือ คุงข่วย ในบางครั้งเราอาจเรียกว่า ธรณีกว้า สื่อถึงผืนดิน ในที่นี้หมายถึงเพศหญิง (ความอ่อนโยน ความอดทน ความสุข และความงามของผู้หญิง)

**มีสัญลักษณ์เป็นขีดแนวนอนสามขีดที่ถูกแบ่งตรงกลางทั้งหมดเรียงต่อกันในแนวตั้ง หรือสิ่งที่มีความเป็นอิน(อินหยาง)มากที่สุด

***เชื่อมโยงกับ “อินคือยามค่ำคืน และในยามค่ำคืนจะต้องนอน” เมื่อเพศหญิงถูกสื่อในโครงสร้างของความเป็นอินที่สูงที่สุด จึงกล่าวได้ว่า เพศหญิงจำเป็นต้องนอนหลับเพื่อเข้าสู่สมดุลของธรรมชาติที่ควรเป็นไป

นอกจากนี้ เสาหยินยังสร้างหยาง ดังนั้นการนอนหลับจึงเป็นกระบวนการในการปลูกฝังพลังงานหยางของร่างกาย ผู้หญิงคือหยินและใช้เป็นหยาง ซึ่งสอดคล้องกับหลักการหยินและหยางของเรา

 

02 “สตรีนั้นมีตับเป็นเซียนเทียน*” (先天 เซียนเทียน) ซู่เวิ่น • อู่จั้งเซิงเฉิง: “มนุษย์นอนแล้วเลือดจะกลับสู่ตับ”

การนอนหลับเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการบำรุงตับ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั้งจากการแพทย์แผนจีนและการแพทย์แผนตะวันตกเลยทีเดียว

การแพทย์แผนจีนมองว่า หน้าที่หลักประการหนึ่งของตับคือการกักเก็บเลือด และเลือดก็คืออิน

นอกจากนี้ ร่างกายของผู้หญิงยังถูกบำรุงด้วยเลือด ซึ่งสอดคล้องกับ หลิงซู • อิ๋งเว่ยเซิงฮุ่ย: “ถึงอินแล้วจักหยุดลง”** (至阴而止 หมายถึง เมื่อถึงเวลากลางคืนจะนอนหลับ)

จากมุมมองของการแพทย์แผนตะวันตก ตับคือระบบอวัยวะที่สำคัญในเผาผลาญในร่างกาย มีหน้าที่หลัก ๆ หรือเกี่ยวกับการล้างพิษ, การย่อยอาหาร, ระบบภูมิคุ้มกัน, การสังเคราะห์โปรตีน เป็นต้น

การซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ตับส่วนใหญ่จะดำเนินการในเวลากลางคืน เมื่อมนุษย์เรานอนหลับลึก ตับจะหลั่งฮอร์โมนการเจริญเติบโต (growth hormone) จำนวนมาก

เกี่ยกกับการฟื้นตัวของการทำงานของตับ จากการวิจัยที่เกี่ยวข้อง เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างท่ายืนกับท่านอนหงาย พบว่าเมื่อยืน การไหลเวียนของเลือดในตับจะลดลง 40% เมื่อเทียบกับท่าหงาย และยังลดลงเหลือ 80%-85% เมื่อยืนควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอีก

การไหลเวียนของเลือดในตับที่ลดลง ส่งผลโดยตรงต่อการส่งสารอาหารและออกซิเจนไปยังตับ การนอนดึกและการนอนหลับอย่างไม่มีคุณภาพ ไม่เพียงแต่ทำให้เกิดความเหนื่อยล้า ความจำไม่ดี และมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ยังอาจเป็นอันตรายต่อระบบไหลเวียนโลหิตและระบบประสาทส่วนกลางของร่างกายอีกด้วย

อีกตัวอย่างหนึ่งคือสาร "เมลาโทนิน" ซึ่งผู้หญิงให้ความสนใจอย่างมากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ว่าสามารถให้ความชุ่มชื่นและความขาวกระจ่างใสแก่ผิว ชะลอความแก่ ปรับสมดุลต่อมไร้ท่อ ฯลฯ เรียกได้ว่าเป็น "ปาฏิหาริย์แห่งความงาม" ได้เลยทีเดียว

อย่างไรก็ตาม เมลาโทนินจะหลั่งออกมาเวลากลางคืน เมื่อเราหลับตาและปิดไฟสนิท มากกว่าตอนกลางวันถึง 5 ถึง 10 เท่า

จากที่กล่าวมาข้างต้นจะทราบได้เลยว่า “จุดเริ่มต้น” ของ "ผู้หญิงจะต้องนอนดี" คือ “การบำรุงตับ” นั่นเอง

 

*เซียนเทียน (先天) ในทางการแพทย์แผนจีน หมายถึง สิ่งทีมีมาตั้งแต่ต้นกำเนิด คือสิ่งที่บิดาและมารดาให้มาอย่างละครึ่ง หรือ อาจหมายถึง สิ่งที่เป็นต้นกำเนิด หรือสิ่งที่มีมาตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที

**ถึงอินแล้วจักหยุดลง (至阴而止) หมายถึง เมื่อถึงเวลากลางคืนจะนอนหลับ สามารถอธิบายเพิ่มเติมจากข้อความเต็มดั้งเดิมได้ว่า “ลมปราณเว่ยเคลื่อนในอินยี่สิบห้าระดับ, เคลื่อนที่ในหยางอีกยี่สิบห้าระดับ, คือการแบ่งวันและคืน, ทำให้ลมปราณนั้น เมื่อถึงหยางจักลุกขึ้นตื่นและเบิกดวงตา, เมื่อถึงอินร่างกายจักหยุดลงและหลับตา”

 

            จากผลสำรวจแล้ว ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะนอนไม่หลับมากกว่าผู้ชายถึง 1.6 เท่าเลยทีเดียว ซึ่งแน่นอนว่า การป้องกันและรักษาโรคสำหรับผู้หญิงจะต้องมุ่งเน้นไปที่การแก้ปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับของผู้หญิง

 

                ดังนั้น ทางเราจึงขอแนะนำดังนี้

            1. ก่อนนอนไม่ควรเล่นมือถือ

            ตาเป็นทวารของตับ (หมายถึง อวัยตับจะเชื่อมโยงกับดวงตา) การที่เราจ้องมองมือถือจะส่งผลต่อตับ กระทบจนถึงเรื่องของการสะสมเลือด ซึ่งจะทำให้คุณภาพการนอนหลับของเราไม่ดี

            2. ทำใจให้สงบ ไม่ปรวณแปรผันผวนให้มากนัก

            ซู่เวิ่น • จวี่ท่งลุ่น: “ความโกรธชี่*จักขึ้นบน, เริงร่าชี่จักเชื่องช้า, ความโศกชี่จักสูญสลาย, ความกลัวชี่จักลงล่าง, ตกใจแล้วชี่กระเจิง, ครุ่นคิดชี่ชะงักงัน” (怒则气上,喜则气缓,悲则气消,恐则气下,惊则气乱,思则气结)

                จากข้อความข้างต้น บวกกับทฤษฎีของทางการแพทย์แผนจีน คือตับมีหน้าที่หนึ่งคือการแผ่กระจายลมปราณไปทั่วทั้งร่างกาย เช่นนั้นก็สามารถเชื่อมโยงได้ว่า การแปรเปลี่ยนไปด้วยอารมณ์ต่าง ๆ จะส่งผลต่อการทำงานของตับ จนกระทั่งลมปราณในร่างกายเคลื่อนไหวอย่างผิดปกติตามที่กล่าวมา ซึ่งจะกระทบกับกลไกการทำงานต่าง ๆ อย่างรวดเร็ว

            *ชี่ () หมายถึง ลมปราณ

            3. แช่เท้าก่อนนอน และนวดคลึงจุดฝังเข็ม (จุดสะท้อน)

            การแช่เท้า สามารถทำให้เลือดและลมปราณเคลื่อนที่ลงสู่ด้านล่าง

            จากคำกล่าวที่ว่า 1. “อินก็คือยามค่ำคืน, และในยามค่ำคืนก็คือจะต้องนอน อีกทั้ง 2. เส้นลมปราณอินเฉียว(阴跷脉) และเส้นลมปราณหยางเฉียว(阳跷脉) มีต้นกำเนิดมาจากเท้า และ 3. กลไกของเส้นลมปราณอินเฉียวและหยางเฉียวคือการเปิดปิดเปลือกตา (หรืออีกนัยหนึ่งก็คือการตื่นและการหลับ)

            เมื่อเราแช่เท้าในน้ำอุ่น จะเป็นการปรับความสมดุลของเส้นลมปราณอินเฉียวและหยางเฉียวที่เท้า ซึ่งสองเส้นลมปราณนี้มีหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ ทำให้สามารถนอนหลับได้ง่ายขึ้น

            ขณะเดียวกัน เราสามารถนวดคลึงจุดฝังเข็ม (หรือเรียกได้อีกอย่างว่าจุดสะท้อน) ที่จุดจ้าวไห่ (照海 อยู่ที่บริเวณใต้ตาตุ่มเท้าฝั่งด้านใน) และจุดหรานกู่ (然骨 อยู่ใกล้ ๆ จุดจ้าวไห่ จะอยู่ที่เท้าฝั่งด้านใน วิธีการหาแบบง่าย ๆ คือวัดครึ่งเท้า แล้วคลึงช่วงบริเวณส่วนที่เป็นจุดตัดของสีขาวที่ฝ่าเท้ากับผิวส่วนด้านบนหลังเท้าตรงกลางบริเวณที่ลากจากส่วนโค้งเว้าของฝ่าเท้า) ไปควบคุมกับการแช่เท้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพได้อีกด้วย

 

            “เห็นหรือยังว่า การนอนหลับอันแสนหวานของสตรีมีค่าดั่งทองคำพันแท่ง ดังนั้น ราตรีสวัสดิ์นะคะ”


credit : 三才公益