ผลเสียจากการนอนดึก คุณทราบมากแค่ไหน?
《หลิงซู》กล่าวว่า “ลมปราณเว่ย(卫气), กลางวันเดินทางในหยาง, กลางคืนเดินทางในอิน, ดังนั้น หากลมปราณหยางหยุดลงจะทำให้หลับ, หากลมปราณอินหยุดลงจะทำให้ตื่น” หากนอนดึก การทำงานของลมปราณเว่ยจะผิดปกติ แสดงอาการออกมาเป็นกลุ่มอาการอินพร่อง (สารอินในร่างกายบกพร่องลงกว่าที่ควรจะเป็น) เช่น ปากและลิ้นแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ รู้สึกร้อนรุ่ม หงุดหงิดง่าย
ผลเสียจากการนอนดึก
คุณทราบมากแค่ไหน?
ในปี 2017
นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกันสามท่านได้รับรางวัลโนเบลสาขาการแพทย์จากการค้นพบกลไกนาฬิการ่างกายในระดับโมเลกุล
(Circadian
rhythm) เป็นกลไกควบคุมวงจรการทำงานของร่างกายสิ่งมีชีวิต ทั้งพืช
สัตว์ หรือแม้กระทั่งเชื้อรา ให้ทำงานโดยสอดคล้องกับแต่ละช่วงเวลาของวัน
พูดง่าย ๆ ก็คือ
เราควรตื่นขึ้นมาทำงานตอนกลางวัน และเข้านอนตอนกลางคืน
《หลิงซู》กล่าวว่า
“ลมปราณเว่ย(卫气), กลางวันเดินทางในหยาง, กลางคืนเดินทางในอิน, ดังนั้น หากลมปราณหยางหยุดลงจะทำให้หลับ,
หากลมปราณอินหยุดลงจะทำให้ตื่น”
จึงแนะนำให้เข้านอนตอนกลางคืนเพื่อให้สอดคล้องกับการทำงานของ
“การเคลื่อนที่ของลมปราณเว่ยในอิน” (卫气行阴 เว่ยชี่สิงอิน)
หากนอนดึก การทำงานของลมปราณเว่ยจะผิดปกติ แสดงอาการออกมาเป็นกลุ่มอาการอินพร่อง
(สารอินในร่างกายบกพร่องลงกว่าที่ควรจะเป็น) เช่น ปากและลิ้นแห้ง คอแห้ง กระหายน้ำ
รู้สึกร้อนรุ่ม หงุดหงิดง่าย
การนอนดึกมีผลต่อทุกอวัยวะในห้าอวัยวะตันและหกอวัยวะกลวง
ซึ่งอวัยวะหลัก ๆ ที่เกี่ยวข้องมากที่สุด คือ
1.
ตับ
《เน่ยจิง》: “เลือดจะกลับไปสู่ตับเมื่อมนุษย์นอนหลับ”
การแพทย์แผนจีนมีมุมมองว่าหนึ่งในหน้าที่หลักของตับคือการกักเก็บเลือด
เลือดคือสารอิน ดังนั้น การนอนหลับตอนกลางคืน(เวลาที่เป็นอิน)
จะสามารถบำรุงเลือดในตับของเราได้ (เพราะเป็นการเสริมซึ่งกันและกันของสารอิน)
การแพทย์แผนตะวันตกมองว่าตับเป็นอวัยวะล้างพิษที่ใหญ่ที่สุดในร่างกายของมนุษย์
เมื่อถึงเวลากลางคืน ตับจะทำการซ่อมแซมและฟื้นฟูเซลล์ตับส่วนใหญ่ เมื่อร่างกายมนุษย์อยู่ในภาวะหลับลึก
จะเกิดการหลั่ง growth
hormone จำนวนมาก ซึ่งสามารถส่งเสริมให้มีการเจริญเติบโต
และสังเคราะห์โปรตีนที่ร่างกายมนุษย์ต้องการ
มีประโยชน์อย่างมากต่อการฟื้นฟูการทำงานของตับ และพัฒนาการของเด็ก
หากนอนดึกเป็นเวลานาน
ตับจะไม่สามารถกักเก็บเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ผู้หญิงจะประสบปัญหาความผิดปกติของต่อมไร้ท่อ เช่น ประจำเดือนน้อยลง
ประจำเดือนมาไม่ปรกติ มีริ้วรอยบนใบหน้า ส่วนผู้ชาย
จะทำให้สมรรถภาพทางเพศเสื่อมถอยลง และมีปัญหาต่อมลูกหมาก เป็นต้น
2.
หัวใจ
หลายคนคงมีประสบการณ์ที่ต้องเข้านอนแต่หัวค่ำเพื่อเตรียมตัวตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
(ECG) ในวันถัดไปได้อย่างราบรื่น ไม่อย่างนั้น
คลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ตรวจได้อาจพบความผิดปกติ เช่น หัวใจเต้นผิดจังหวะได้ง่าย
ทำไมถึงเป็นอย่างนี้?
《เน่ยจิง》: “หัวใจคือขุนนางแห่งกษัตริย์, และเสิน* (神)
เกิดจากสิ่งนั้น”
ในขณะเดียวกัน
เสินเองก็อาศัยการหล่อเลี้ยงของเลือดของหัวใจเป็นพื้นฐานเช่นกัน ดังสุภาษิตที่ว่า
“หลับตาเลี้ยงเสิน” (闭目养神ปี้มู่หยั่งเสิน)
มีความหมายถึงการหลับตาลงเพื่อตั้งสติและสมาธิ(คล้ายกับการนั่งสมาธิหรือพักผ่อน)
ซึ่ง “เสิน” ในสุภาษิตนั้น ก็คือ “เสินของหัวใจ” ในที่นี้นี่เอง
ดังนั้น
การหลับตาลงพักผ่อนหรือนอนหลับ จึงสามารถหล่อเลี้ยงเสินของหัวใจได้อย่างดี
ขณะเดียวกัน หากนอนดึก พักผ่อนไม่เพียงพอเป็นเวลานาน
ก็อาจเกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดหัวใจ เช่น ใจสั่น แน่นหน้าอก ความดันโลหิตสูง
ไปจนถึงโรคหลอดเลือดในสมองเลยทีเดียว
*เสิน
(神)
สามารถแปลเป็นไทยได้หลายแบบขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ราศี,
ความมีชีวิตชีวา, ขวัญ, สติสัมปชัญญะ ;
หากมีอย่างเต็มเปี่ยม จะมีสีหน้าสดชื่นแจ่มใส กระฉับกระเฉง
แววตาสดใส แต่หากบกพร่องลงกว่าที่ควรจะเป็น
จะแสดงออกมาทางสีหน้าที่ดูหมองคล้ำไม่สดชื่น เฉื่อยชา แววตาเหนื่อยล้า
3.
ม้ามและกระเพาะอาหาร
ในขณะที่เรานอนดึก
อวัยวะภายในร่างกายของเราจะยังอยู่ในสภาวะตื่นตัวพร้อมทำงาน
ซึ่งต้องการพลังงานมาเติมเต็ม เราจึงมักจะรู้สึกหิวในเวลาดึกอยู่บ่อยครั้ง
อย่างไรก็ตาม หากรับประทานเข้าไปในช่วงเวลานั้น
ระบบย่อยอาหารของเรา(ม้ามและกระเพาะอาหารในทางการแพทย์แผนจีน) ก็จะต้องกระตุ้นตัวเองขึ้นมาย่อยอาหารในเวลาที่ไม่สมควร
ซึ่งหากไม่อดทนเปลี่ยนแปลง ก็จะเกิดเป็นวงจรแบบนี้อย่างต่อเนื่อง
ในทางกลับกัน
ด้วยสภาวะ “ลมปราณเว่ยเดินทางในอิน” (卫气行于阴)
การไม่หลับไม่นอนเวลากลางคืน ก็จะส่งผลกระทบต่อการเดินทางของลมปราณเว่ยอย่างแน่นอน
จนกระทั่งทำให้ความสมดุลของอินและหยางในร่างกายผิดปกติ เป็นต้นเหตุของโรคนานัปการ
หากเป็นเช่นนี้ในระยะยาว
จะทำให้เกิดเป็นโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารได้ง่าย เช่น
กระเพาะอาหารอักเสบอย่างฉับพลัน หรือแผลเรื้อรังในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
เส้นลมปราณ
《หลิงซู
• อิ๋งเว่ยเซิงฮุ่ย》 กล่าวว่า
“ครึ่งคืนมีนัดหมายใหญ่ คนนับหมื่นล้วนนอนหลับ” (夜半而大会,万民皆卧เย่ปั้นเอ่อร์ต้าฮุ่ย, ว่านหมินเจียว่อ) มีความหมายว่า เมื่อถึงเวลาเที่ยงคืน
คนทุกคนจะนอนหลับกันหมด
ซึ่งในเวลา 23:00 – 01:00 (ยามจื่อ) ในเวลากลางคืนคือเวลาของเส้นลมปราณเส้าหยางถุงน้ำดี
และเวลา
11:00
– 13:00น. (ยามอู่) ในเวลากลางวันคือเวลาของเส้นลมปราณเส้าอินหัวใจ
ทั้งสองช่วงเวลานี้อยู่ห่างกันครึ่งวัน
คือ 12 ชั่วโมง ทั้งสองเส้นลมปราณนี้มีความเกี่ยวข้องกันในเชิงคู่ขั้วตรงข้ามของอินและหยาง
ดังนั้น การนอนหลับพักผ่อนในยามจื่อ (5 ทุ่มถึงตีหนึ่ง)
ก็จะเป็นการดูแลรักษาถุงน้ำดี ซึ่งก็จะส่งผลไปยังคู่ตรงข้าม
ทำให้หัวใจก็ได้รับการหล่อเลี้ยงเช่นกัน ทำให้อินและหยางมีความสมดุล
จากที่กล่าวมาข้างต้น
ทำให้ทราบว่า การนอนดึกส่งผลส่งผลต่อร่างกายของเราในหลายด้าน ดังนั้น การนอนหลับพักผ่อนที่ดีอย่างมีคุณภาพจะส่งผลดีและมีประโยชน์กับร่างกายได้อย่างมหาศาล
ดังนั้น
เหล่าซือจึงให้คำแนะนำไว้ดังนี้
1.
ครึ่งชั่วโมงก่อนเข้านอน ทางที่ดีไม่ควรเล่นโทรศัพท์ งานวิจัยแสดงให้เห็นว่า
ร้อยละ 80 ของการรับรู้โลกภายนอก มาจากดวงตา ซึ่งจะส่งผลทำให้สมองมีการตื่นตัวจนทำให้นอนไม่หลับ
2.
แช่เท้าก่อนนอน :
เส้นลมปราณอินเฉียวม่าย และหยางเฉียวม่าย เริ่มมาจากเท้า
ควบคุมการเปิด-ปิดของเปลือกตา ดังนั้นการแช่เท้าก่อนนอน
จะเป็นการปรับสมดุลให้กับเส้นลมปราณทั้งสอง
ทำให้สามารถนอนหลับได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.
สำหรับผู้ที่เข้านอนได้ยาก คุณภาพการนอนหลับไม่ดี นอนดึก แนะนำให้ดื่มชาสมุนไพร 五味子 10g
车前子10g ชงในน้ำร้อน ดื่มอุ่น ๆ
ก่อนนอน 30 นาที
บทความนี้สรุปผลเสียต่อร่างกายจากการนอนดึกไว้อย่างง่าย ๆ ซึ่งแน่นอนว่ายังคงมีผู้คนจำนวนมากมายที่นอนดึกและนอนไม่หลับจากโรคประจำตัวที่ตัวเองเป็น ดังนั้น สำหรับผู้คนกลุ่มนี้ จึงแนะนำให้พบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อตรวจและรักษาเพื่อไม่ให้กลไกของโรคดำเนินไปอย่างรุนแรงมากขึ้น