image

"นอนไม่หลับ" ทางการแพทย์แผนจีน 1

โรคนอนไม่หลับ หมายถึงโรคที่ไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติอย่างบ่อยครั้ง ในทางการแพทย์แผนจีน เรียกอีกอย่างว่า "นอนไม่หลับ"(不寐 ปู๋เม่ย) "นอนไม่ได้"(不得卧 ปู้เต๋อว่อ) "ตาไม่ปิด"(目不瞑 เหยี่ยนปู้หมิง) เป็นต้น


โรคนอนไม่หลับ หมายถึงโรคที่ไม่สามารถนอนหลับได้ตามปกติอย่างบ่อยครั้ง ในทางการแพทย์แผนจีน เรียกอีกอย่างว่า "นอนไม่หลับ"(不寐 ปู๋เม่ย) "นอนไม่ได้"(不得卧 ปู้เต๋อว่อ) "ตาไม่ปิด"(目不瞑 เหยี่ยนปู้หมิง) เป็นต้น

อาการทางคลินิกที่สำคัญ คือ การเข้านอนยากหรือหลับไม่สนิท เดี๋ยวหลับเดี๋ยวตื่น ตื่นมากลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ ในรายที่รุนแรงอาจถึงขั้นนอนไม่หลับทั้งคืนได้เลยทีเดียว

การนอนหลับเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการอยู่รอด ซึ่งเวลา 1/3 ของชีวิตมนุษย์ถูกใช้ไปกับการนอนหลับ อาจกล่าวได้ว่า คุณภาพการนอนหลับเกี่ยวข้องกับทุก ๆ ด้านของชีวิต

หากอาการไม่รุนแรงมากนักก็สามารถหายได้เอง แต่ในกรณีที่รุนแรงจะมีอาการร่วมต่อมาคือ ง่วงซึมไม่กระฉับกระเฉง (listlessness) อวัยวะภายในทำงานผิดปกติ จนกระทั่งเกิดโรคต่าง ๆ มากมายตามมา

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนของผู้ป่วยโรคนอนไม่หลับมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้านล่างนี้พวกเราจะอธิบายการรักษาโรคนอนไม่หลับของการแพทย์แผนจีนให้เข้าใจ

ดังสุภาษิตจีนที่ว่า "ตะวันขึ้นจึงทำงาน ตะวันตกจึงนิทรา” (日出而作,日落而息 รื่อชูเอ่อร์จั้ว, รื่อลั่วเอ่อร์ซี) ศาสตร์การแพทย์แผนจีนมองว่าการนอนหลับที่ปกติของมนุษย์สอดคล้องกับสมดุลในการเพิ่มขึ้นและลดลงของอินและหยางในธรรมชาติ

หลิงซู • โข่วเวิ่น: ”ยามกลางวันลมปราณเว่ย(卫气 เว่ยชี่) เคลื่อนอยู่ในหยาง, ส่วนยามกลางคืนจะเคลื่อนอยู่ในอิน, อินก็คือยามค่ำคืน, และในยามค่ำคืนก็คือจะต้องนอน.... ขณะที่ลมปราณหยาง(阳气 หยางชี่)หยุดลง, ลมปราณอิน(阴气 อินชี่)เพิ่มขึ้นมา, นั่นคือเปลือกตาปิดลง(หมายถึงการหลับ), และเมื่อลมปราณอินหยุดลงแล้วลมปราณหยางเพิ่มขึ้นมา, นั่นคือการตื่นแล”


กลไกโรคของการนอนไม่กลับ ก็คือหยางไม่เข้าไปในอิน (阳不入阴) แบ่งคร่าว ๆ ได้ 3 ประเภท

 

1. หัวใจและไตไม่สอดคล้องกัน (心肾不交)

แนวคิดสำคัญเริ่มมาจาก โจวอี้กล่าวถึง กว้า, ผี่กว้า (卦象, 否卦)* : “ฟ้าดินไม่สอดคล้อง, ผี่( ในที่นี้อ่านว่า ผี่ หมายถึง ไม่ดี)” (天地不交,否), “ลักษณะที่สรรพสิ่งปิดกั้นอุดตัน, คือบนล่างไม่ประสาน” (万物闭塞之象,上下不合), “ลมปราณหยางไม่ขึ้นบน, ลมปราณอินไม่ลงมา” (阳气不升,阴气不降)

ในศาสตร์การแพทย์แผนจีนกล่าวว่า หัวใจอยู่ด้านบน เป็นธาตุไฟ เป็นหยาง ส่วนไตอยู่ด้านล่าง เป็นธาตุน้ำ เป็นอิน ในสถานการณ์โดยปกติแล้ว หัวใจละไตจะทำงานเชื่อมโยงประสานพร้อมกับยับยั้งซึ่งกันและกัน คือการที่ไฟของหัวใจลงไปหาไตด้านล่าง ทำให้ไตน้ำไม่เย็บจนเหน็บหนาว() และน้ำของไตขึ้นไปสู่หัวใจ ทำให้ไฟหัวใจไม่พุ่งพล่าน ดังนี้ ทำให้อินและหยาง หัวใจและไต ไฟและน้ำ มีความสอดคล้องประสานกันกลมกลืน

หากสมดุลทางสรีรวิทยานี้ถูกทำลายไป ทำให้มีอาการแสดงออกมาคือ กระวนกระวายใจนอนไม่หลับ ใจสั่น ไม่สงบ นั่นก็คืออินและหยางไม่สมดุลกัน

หลิงซู • ต้าฮั่วลุ่น: “ลมปราณเว่ย(卫气 เว่ยชี่) ไม่สามารถเข้าไปในอินได้, จึงตกค้างอยู่ในหยาง(หลิว การอยู่ในเชิงที่ถูกปล่อยไว้ ถูกวาง ถูกทิ้ง ถูกเหลือไว้), เมื่ออยู่ในหยาง, จึงทำให้ลมปราณหยาง(阳气)เต็ม......จึงเข้าไปในอินไม่ได้ ทำให้ลมปราณอิน(阴气) พร่องลง, ส่งผลให้เปลือกตาปิดไม่ได้(目不得瞑 มู่ปู้เต๋อหมิง มีความหมายถึง นอนไม่หลับ)”

หลิงซู  เสียเค่อ: “เมื่อลมปราณเจวี๋ย(厥气 เจวี๋ยชี่ หมายถึง ลมปราณก่อโรคจำพวกหนึ่งซึ่งทำให้เกิดโรคในแบบทุติยภูมิ คือเป็นโรคใดใดมาสักระยะ แล้วมีการพัฒนาขึ้นอีกขั้นหนึ่งเป็นโรคชนิดใหม่)” เข้ามาอยู่ในอวัยวะภายใน (ห้าอวัยวะตัน และ หกอวัยวะกลวง), ส่งผลให้ลมปราณเว่ย(卫气 เว่ยชี่) ถูกปล่อยให้อยู่ด้านนอก จึงเคลื่อนที่ได้เพียงในหยาง เข้ามาในอินไม่ได้ ...... เมื่อเข้ามาในอินไม่ได้ อินพร่องลงจนทำให้เปลือกตาไม่ปิด(นอนไม่หลับ)” มีความหมายว่า หากหยางเข้าไปในอินได้ นั่นคือการนอนหลับได้

2. ม้ามและกระเพาะไม่สมดุล

ซู่เวิ่น • นี่เถียวลุ่น: “หยางหมิง(阳明)นั้น, คือเส้นลมปราณกระเพาะอาหาร, กระเพาะนั้นคือทะเลแห่งอวัยวะกลวงทั้งหก, ลมปราณของมันลงทิศล่างเท่านั้น( อี้ เท่านั้น), หากลมปราณขึ้นทิศบนไม่ไปตามทางของมัน, ทำให้นอนไม่หลับ, กระเพาะไม่สมดุลทำให้นอนไม่หลับ, คือความหมายเช่นนี้

เก๋อจื้ออวี๋ลุ่น: “....., ทำให้หยางของหัวใจและม้ามลดลง..... จึงทำให้ฟ้าดินกลมกลืน(而成天地之交泰) ม้ามนั้นนำสิ่งเบา(หมายถึงสิ่งที่ดี สารอาหารที่ดูดซึมแล้ว) ขึ้นสู่ด้านบน, กระเพาะนั้นนำสิ่งหนัก(หมายถึงสิ่งที่เป็นของเสีย สิ่งที่ข้นหนัก) ลงสู่ด้านล่าง, เปรียบได้กับบานพับประตูของลมปราณที่เดินทางขึ้นลง”

จะเห็นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงและการเคลื่อนไหวของอินและหยางในร่างกายของมนุษย์ มีความสอดคล้องกับธรรมชาติ และเป็นตัวกําหนดการนอนหลับของมนุษย์อีกด้วย


3. เส้นลมปราณอินเฉียว และเส้นลมปราณหยางเฉียว สูญเสียความสามารถในการเปิด-ปิด (阴阳跷脉失开合)

ในระบบเส้นลมปราณ, เส้นลมปราณอินเฉียวและเส้นลมปราณหยางเฉียว มีหน้าที่ควบคุมเลือดและลมปราณในเส้นลมปราณ และการเปิดปิดของเปลือกตา

หลิงซู ม่ายตู้: “เส้นลมปราณเฉียวนั้น, แยกมาจากเส้นลมปราณเส้าอิน....เข้าไปที่จมูก, ไปที่มุมด้านในของดวงตา, ไปผนวกกับเส้นลมปราณไท่หยางและเส้นลมปราณหยางเฉียว แล้วเคลื่อนขึ้นสู่ด้านบน”

หลิงซู หานเร่อปิ้ง: “เส้นลมปราณไท่หยางเท้าขึ้นไปสู่สมอง( สมอง มีความหมายในเชิงศีรษะ) ...... เข้าไปที่สมองแล้วแยกออกเป็น เส้นลมปราณอินเฉียว เส้นลมปราณหยางเฉียว อินและหยางเชื่อมต่อกัน หยางจะเข้าไปในอิน ส่วนอินออกมาจากหยาง มาประสานกันบริเวณมุมตา, ลมปราณหยางล้นหลามจะลืมตา(瞋目 เชินมู่ การจ้องมอง), ลมปราณอินท่วมท้นจะหลับตา(瞑目)”

เมื่อเส้นลมปราณอินเฉียว และเส้นลมปราณหยางเฉียว สูญเสียความสามารถในการเปิด-ปิด, ทำให้การนอนหลับผิดปกติไปด้วย


credit : 三才公益