อารมณ์หลังคลอด
ผลการวิจับพบว่า 10%-30% ของคุณแม่หลังคลอดมักจะมีปัญหาดังกล่าว ซึ่งหมายถึงอาการความเครียด วิตกกังวล ความเศร้า โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ไปจนถึงเป็นโรคทางจิตเวช กระทั่งอาจร้ายแรงจนเกิดความสูญเสียในชีวิต ดังนั้น สุขภาพทางอารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอดจึงต้องได้รับความดูแลเอาใจใส่จากทุกคน
อารมณ์มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพอย่างใกล้ชิด
《ซู่เวิ่น • จวี่ท่งลุ่น》: “ข้าพเจ้าทราบว่าร้อยโรค*เกินมาจากลมปราณ” (余知百病生于气也) ,
“ความโกรธลมปราณจักขึ้นบน, เริงร่าลมปราณจักเชื่องช้า, ความโศกลมปราณจักสูญสลาย, ความกลัวลมปราณจักลงล่าง, ตกใจแล้วลมปราณกระเจิง, ครุ่นคิดลมปราณชะงักงัน”
(怒则气上,喜则气缓,悲则气消,恐则气下,惊则气乱,思则气结)”
อารมณ์ใดใดที่มีมากจนเกินไปจะส่งผลต่อการเดินทางของลมปราณของอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดเป็นโรคขึ้นได้《หนี่ว์เคอมี่จื่อ • หลินฉ่านซวีจือ》: “หลังคลอดบุตรเดือนแรกให้หลีกเลี่ยงลมปราณจากโกรธ, อย่าตกใจกลัวและอย่าโกรธ, อย่าทำให้เสิน**ถูกบั่นทอน”, ระวังเรื่องการทานและดื่ม”
《ไทฉ่านซินฝ่า • ฉ่านโฮ่วจิ้นจี้ลุ่น》: “ในร้อยวันหลังหลอดบุตร, ไม่ด่าทอบีบคั้น, ไม่ใช้แรงงาน, ไม่มีเรื่องทางเพศ, ตลอดชีวิตจักไร้โรค”
ไม่ใช่เพียงแค่ 30 วันหลังคลอดเท่านั้น แต่การควบคุมสภาพจิตใจและการดูแลตนเองจะต้องดำเนินไปถึง 100 วัน เพื่อหลีกเลี่ยงการ “ล้มลงที่รากของโรค” (落下病根 หมายถึง การที่ยังไม่หายขาดจากโรคในอดีต จนส่งผลให้เกิดการกำเริบซ้ำอีกครั้งในอนาคตภายใต้ปัจจัยบางอย่าง)
ในขณะเดียวกัน เป็นที่น่าสังเกตว่าภาวะ “ซึมเศร้าหลังคลอด” ก็เป็นปัญหาที่ร้ายแรงเช่นกัน
ผลการวิจัยพบว่า 10%-30% ของคุณแม่หลังคลอดมักจะมีปัญหาดังกล่าว ซึ่งหมายถึงอาการความเครียด วิตกกังวล ความเศร้า โกรธง่าย หงุดหงิดง่าย ไปจนถึงเป็นโรคทางจิตเวช กระทั่งอาจร้ายแรงจนเกิดความสูญเสียในชีวิต
ดังนั้น สุขภาพทางอารมณ์ของหญิงตั้งครรภ์และคุณแม่หลังคลอดจึงต้องได้รับความดูแลเอาใจใส่จากทุกคน
*ร้อยโรค (百病) หมายถึง โรคทั้งหมด
**เสิน (神) หมายถึง จิต สภาพจิตใจ จิตวิญญาณ ความมีชีวิตชีวา
สุภาษิตโบราณกล่าวว่า “ระยะเวลาเต็มเดือน, รักษาระดับเป็นร้อยวัน” (弥月为期,百日为度)
จะเห็นได้ว่าไม่ใช่แค่จะต้องระมัดระวังในช่วง “อยู่เดือน” เท่านั้น แต่เรายังต้องใส่ใจเรื่องการควบคุมอาหาร การใช้ชีวิตประจำวัน และการควบคุมอารมณ์และสุขภาพจิต ไปจนถึงร้อยวันอีกด้วย
ช่วงเวลาหลังคลอดบุตรเป็นช่วงเวลาพิเศษ และอีกสิ่งที่วิเศษในช่วงเวลานี้คือ “การให้นมบุตร”
หากไม่ได้รับการดูแลอย่างเหมาะสมก็อาจจะเกิดโรคขึ้น และในระยะให้นมบุตรก็รักษาด้วยยาจีนไม่สะดวกเท่าใดนัก เพราะ “ยามีพิษอยู่สามส่วน” (是药三分毒 หมายถึง ตราบใดที่เป็นยา ก็สามารถมีพิษแฝงอยู่ได้ ในการรักษาด้วยยา ร่างกายก็จะได้รับผลกระทบจากพิษที่แฝงมานั้นด้วย) การทานยาก็จะส่งผลไปยังน้ำนมที่ลูกดื่ม
การฝังเข็มจึงเป็นข้อดีที่เป็นเอกลักษณ์ในด้านนี้ ดังนั้น “การฝังเข็ม” จึงเป็นตัวเลือกแรกในการรักษาโรคหลังคลอดที่เหมาะสมเป็นอย่างมากแน่นอน
credit : 三才公益