image

ระยะหลังคลอด ทางการแพทย์แผนจีน

“ระยะหลังคลอด” หมายถึง ระยะเวลาในการปรับตัวและฟื้นตัวของร่างกายมารดา, อวัยวะสืบพันธุ์ และสุขภาพจิตหลังการคลอดของทารกในครรภ์และรก ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ (42-56 วัน) การดูแลที่มีคุณภาพจะสามารถส่งผลดีต่อสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ รวมถึงการป้องกันโรคต่าง ๆ หลังคลอดของคุณแม่ได้อย่างดีในระยะยาว

“ระยะหลังคลอด” หมายถึง ระยะเวลาในการปรับตัวและฟื้นตัวของร่างกายมารดา, อวัยวะสืบพันธุ์ และสุขภาพจิตหลังการคลอดของทารกในครรภ์และรก ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 6-8 สัปดาห์ (42-56 วัน)


ในสมัยโบราณของประเทศจีน ระยะเวลานี้ถูกเรียกว่า “อยู่เดือน” (坐月子 จั้วเยวี่ยจึ) ซึ่งขณะนั้นจะนับเพียงช่วง 30 วันแรกหลังจากคลอด ซึ่งสตรีที่คลอดบุตรแล้วจะต้องถูกกักตัวเป็นเวลาหนึ่งเดือนโดยจ้างผู้หญิงจีนวัยกลางคนที่ทำหน้าที่นี้โดยเฉพาะมาดูแลท่ามกลางข้อบังคับอยู่มากมายตลอดระยะเวลาหนึ่งเดือนเต็ม

คนส่วนใหญ่สมัยนั้นจะมุ่งความสนใจไปเพียงแค่การ “อยู่เดือน” แค่เดือนเดียว แต่ที่จริงแล้ว การดูแลมารดาหลังคลอดบุตรไม่ควรมีอยู่แค่ 30 วันเท่านั้น เพราะระยะหลังคลอดเป็นระยะที่มีความสำคัญมาก การดูแลที่มีคุณภาพจะสามารถส่งผลดีต่อสภาพร่างกาย สภาพจิตใจ รวมถึงการป้องกันโรคต่าง ๆ หลังคลอดของคุณแม่ได้อย่างดีในระยะยาว

                ดังนั้น หลังจากครบ 30 วัน ชีวิตประจำวันและการรับประทานอาหารของคุณแม่หลังคลอดก็ยังคงต้องมีการจำกัดอยู่คล้ายเดิม และจะต้องรับการดูแลอย่างใกล้ชิดดังเดิม


            คราวนี้ กล่าวถึงเรื่องราวของการ “อยู่เดือน” มีหลักฐานที่เก่าแก่ที่สุดอยู่ในตำรา หลี่จี้เน่ยเจ๋อ ตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (西汉 ซีฮั่น) ที่สะท้อนถึงระบบมารยาทของครอบครัวในสมัยก่อนราชวงศ์ฉิน ซึ่งเป็นพิธีกรรมชนิดหนึ่งที่จำเป็นหลังการคลอดบุตร

            ในสมัยโบราณ ยุคที่ระบบการแพทย์ยังไม่ได้ก้าวหน้าเท่ากับในปัจจุบัน รวมถึงยังมีการแต่งงานตั้งแต่ยังอายุยังน้อย ไม่ได้รอจนกระทั่งเติบโตจนถึงวัยที่พร้อมที่จะมีลูกจริง ๆ ทำให้มีผู้คนมากมายที่เสียชีวิตจากการคลอดบุตร จนมีคำกล่าวที่ว่า “หนึ่งเท้าย่ำเข้าประตูผี” (一脚踏进鬼门关)

ทำให้มีพิธีกรรมความเชื่อต่าง ๆ เพื่อให้สตรีเหล่านั้นสามารถคลอดบุตรได้โดยปลอดภัยทั้งแม่และลูก ทั้งในขณะตั้งครรภ์ ขณะคลอด และหลังคลอด โดยเฉพาะ 1 เดือนหลังจากคลอด เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากที่สุดเพื่อให้มารดาสามารถเอาชีวิตรอดได้จากการเปลี่ยนแปลงทั้งทางสรีรวิทยาและสภาพจิตใจ

ธรรมเนียมของ “อยู่เดือน” มีมาแต่ช้านาน แต่ละท้องที่ก็จะมีข้อปฏิบัติที่แตกต่างกันออกไปด้วยคำแนะนำของผู้อาวุโส และแน่นอนว่าในสมัยนั้น ข้อปฏิบัติเหล่านั้นก็ไม่ใช่ว่าจะดีต่อตัวมารดาเสมอไป ซึ่งอาจจะกอปรไปด้วยความเชื่อดั้งเดิมของพื้นที่ ทำให้การ “อยู่เดือน” ไม่ได้มีศักยภาพมากเท่าที่ควรจะเป็น

 

            เชียนจินเย่าฟาง: “สตรีหลังคลอดบุตร, ห้าอวัยวะตันอ่อนแอ, พึงบำรุงแต่เท่านั้น, จักระบายออกมิได้” แสดงให้เห็นว่า สภาวะร่างกายของสตรีหลังคลอดจะมีความพร่องอย่างมาก

            และในสมัยราชวงศ์ชิง ฟู่ชิงจู่* มองว่า สตรีหลังคลอดบุตรนั้น “พร่องอย่างมาก คั่งอย่างโข” (多虚多瘀 คือร่างกายมีความพร่องและมีเลือดคั่งอย่างมาก) ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคที่จะเกิดขึ้น

            ดังนั้น ในขณะที่ “อยู่เดือน” จะต้องใส่ใจกับข้อปฏิบัติที่จะต้องสอดคล้องกับสภาพ “พร่องอย่างมาก คั่งอย่างโข” เป็นอย่างมาก ซึ่งมีประเด็นหลักอยู่ 3 ประการ คือ อาหาร, การใช้ชีวิต และสภาพอารมณ์

 

*หรืออีกชื่อคือ ฟู่ซาน (ปี 1607~1684) เป็นนักคิด, นักอักษร และแพทย์ที่มีชื่อเสียงในสมัยราชวงศ์หมิงและชิง ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการต่อสู้กับราชวงศ์ชิงและฟื้นฟูราชวงศ์หมิง หลังจากที่ภรรยาเสียชีวิตจากการล้มป่วย ก็ได้ศึกษาการแพทย์อย่างจริงจังจนมีความเก่งกาจในเรื่องโรคทางนรีเวชจากความระลึกถึงภรรยาที่จากไปและไม่ต้องการให้ผู้อื่นเป็นเช่นนั้นอีก 


credit : 三才公益